บริหารจัดการอาคาร: วิธีการใช้และการตรวจสอบ ถังดับเพลิง ตามมาตรฐานสากล เมื่อพูดถึงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปกติเราจะมีชื่อเรียกติดปากคุ้นหูกันว่า “มอก.” ซึ่งตามความหมายของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กล่าวถึง มอก. ไว้ว่า “เป็นข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด”
ซึ่งสำหรับการเลือกซื้อถังดับเพลิงที่จำหน่ายในประเทศไทยก็เช่นกัน อย่างน้อยเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ถังดับเพลิงจะต้องได้รับมาตรฐานจาก มอก. เช่นกันค่ะ ดังนั้นก่อนการเลือกซื้อถังดับเพลิงก็อย่าลืมศึกษารายละเอียดวิธีการใช้งาน และตรวจสอบเลขอ้างอิงบน ถังดับเพลิง ให้ดีก่อนการซื้อทุกครั้งนะคะ
มอก. อ้างอิงบนถังดับเพลิง
เมื่อเรารู้จักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกันแล้ว คราวนี้เราก็มาดูเลขมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) อ้างอิงลนเครื่องดับเพลิงตามที่กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2551 ระบุบนเครื่องดับเพลิงเพื่อรับรองมาตรฐานสากลให้ผู้ใช้มั่นใจในความปลอดภัยของการใช้งานนั้นเองค่ะ
- เครื่องดับเพลิงยกหิ้วชนิดผงเคมีแห้ง : มอก. 332-2537
- มาตรฐานเครื่องดับเพลิงแบบยกหิ้ว : NFPA 10-2002 : Standard for Portable Fire Extinguishers
- มาตรฐาน เครื่องดับเพลิง แบบยกหิ้วชนิดฮาโลคาร์บอน : Halocarbon Clean Agent Fire Extinguishers, UL 2129
วิธีการใช้ถังดับเพลิง
ตามมาตรฐานสากลของ “ถังดับเพลิง” เกี่ยวกับวิธีการใช้ถังดับเพลิงนั้น ถึงแม้ว่า ถังดับเพลิง จะมีหลายรูปทรงและหลายขนาด แต่วิธีการใช้ ถังดับเพลิง ทั้งหมดนั้นก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีเทคนิคง่ายๆ ในการจำและการนำไปใช้ได้ง่ายๆ ที่รู้กันเป็นอย่างดีทั่วไปอยู่แล้ว นั่นก็คือ ดึง ปลด กด ส่าย ดังนี้
ดึง ใช้มือดึงสลักนิรภัยออกจาก ถังดับเพลิง ซึ่งจะมีสลักล็อกอยู่ หากดึงไม่ออกให้ใช้การ
บิดเเล้วจึงค่อยดึง สลักก็จะหลุดออกมาได้ในทันที
ปลด ใช้มือปลดสายฉีดของ ถังดับเพลิง ออก โดยให้จับบริเวณปลายสายฉีด แล้วดึงออกมาจะ
ออกง่ายกว่าการจับบริเวณโคนสาย
กด ใช้มือกดคันบีบของ ถังดับเพลิง เพื่อให้สารดับเพลิงในถังออกมาใช้ในการดับเพลิงได้
ส่าย หันหัวฉีดไปยังต้นเพลิงแล้วก็การส่ายปลายสายฉีดไปมาเพื่อดับเพลิง ควรฉีดไปยังฐาน
ของเพลิง ไม่ควรฉีดไปบริเวณเปลวเพลิง
การตรวจสอบถังดับเพลิง
เมื่อเราได้รู้วิธีการใช้ ถังดับเพลิง แล้ว การตรวจสอบ “ถังดับเพลิง” ก็สำคัญไม่แพ้กับวิธีการใช้งาน ถังดับเพลิง เช่นกัน ซึ่งบางประเทศจะมีการตรวจสอบ ถังดับเพลิง ในทุกๆ เดือน เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่า “ถังดับเพลิง” มีความพร้อมในการใช้งาน โดยจะมีผู้ตรวจสอบ ถังดับเพลิง และรับรองโดยตรง โดยมาตรฐานสากลในการตรวจสอบ “ถังดับเพลิง” ดังนี้
- ตรวจสอบทุกเดือน เพื่อให้แน่ใจว่า ถังดับเพลิง มีความดันตรงตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น มาตรวัดความดันของ ถังดับเพลิง เข็มควรจะอยู่ในส่วนที่เป็นสีเขียวของเครื่องวัด เป็นต้น
- จุดวาง ถังดับเพลิง ตรวจสอบว่าไม่มีสิ่งกีดขวางบนเส้นทางที่จะเข้าไปหยิบ “ถังดับเพลิง” มาใช้งานในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เพราะอาจะมีคนนำสิ่งของต่างๆ ไปวางโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น ถังขยะ ตู้เก็บเอกสาร กล่องเก็บของต่างๆ เป็นต้น
- ช่างชำนาญการ โดยช่างที่ได้รับการรับรองให้เป็นผู้ตรวจสอบเครื่องดับเพลิงในการตรวจวัดน้ำหนัก ตรวจวัดแรงดัน ร่องรอยชำรุดหรือรอยกัดกร่อน เป็นต้น
- วันหมดอายุ โดยการทดสอบความดันน้ำทุกๆ 5 ปี สำหรับถังดับเพลิงแรงดันน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ และทุกๆ 12 ปี สำหรับเครื่องดับเพลิงผงเคมีแห้ง เพราะหากไม่ได้นานเกินไปอาจเกิดการชำรุดและอุดตันได้ค่ะ
- ระบบตรวจสอบอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันเริ่มมีการตรวจสอบถังดับเพลิงด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งระบบนี้จะทำการตรวจสอบสภาพการใช้งานภายนอกและตรวจสอบความดันภายในของถังดับเพลิง รวมไปถึงสิ่งกีดขวางบนเส้นทางเข้าถึงถังดับเพลิง และหากตรวจสอบว่ามีสิ่งผิดปกติขึ้นมา ระบบจะส่งข้อมูลหรือสัญญาณเตือนให้ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องรับรู้ได้ ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที
วิธีการใช้และการตรวจสอบ ถังดับเพลิง ตามมาตรฐานสากลนั้น ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เราสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยเราจึงควรศึกษา มอก. และวิธีการตรวจเช็คสภาพ ถังดับเพลิง เพื่อให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อสวัสดิภาพของตนเองและคนครอบครัวนั่นเองค่ะ